วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประวัติความเป็นมาของขนมไทย


ประวัติความเป็นมาของขนมไทย

ข้าวนม " " เข้าหนม " " ข้าวหนม " ล้วนเป็นคำอันเป็นที่มาของคำว่า "ขนม" ซึ่งมีผู้สันทัดกรณีหลาย
ท่านตั้งข้อสันนิษฐานไว้ เริ่มตั้งแต่คำแรก "ข้าวนม" ที่นักคหกรรมศาสตร์หลายท่านบอกต่อ ๆ กันมา
ว่าน่าจะมาจากคำคำนี้ เนื่องจากขนมมีอิทธิพลมาจากอินเดียที่ใช้ข้าวกับนมเป็นส่วนผสมสำคัญที่สุด
ในการทำขนมแต่ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ เนื่องจากนมไม่มีบทบาทสำคัญในขนมไทยเลย ขนมไทยใช้
มะพร้าวหรือกะทิทำต่างหาก
สำหรับ "เข้าหนม" นั้น พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิญาณได้ทรงตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า
 "หนม" เพี้ยนมาจาก "เข้าหนม" เนื่องจาก "หนม" นั้นแปลว่าหวาน แต่กลับไม่ปรากฏความหมาย
ของ"ขนม" ในพจนานุกรมไทย มีเพียงบอกไว้ว่าทางเหนือเรียกขนมว่า "ข้าวหนม" แต่ถึงอย่างไรก็
ไม่พบความหมายของคำว่า "หนม" ในฐานะคำท้องถิ่นภาคเหนือเมื่ออยู่โดด ๆ ในพจนานุกรมเช่นกัน
อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งก็นับว่าน่าสนใจไม่น้อย คำว่า "ขนม" อาจมาจากคำในภาษาเขมรว่า "หนม" 
ที่หมายถึงอาหารที่ทำมาจากแป้ง เมื่อลองพิจารณาดูแล้วพบว่าขนมส่วนใหญ่ล้วนทำมาจากแป้ง
ทั้งนั้น โดยมีน้ำตาลและกะทิเป็นส่วนผสม ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า "ขนม" เพี้ยนมาจาก "ขนม" 
ในภาษาเขมรก็เป็นได้
ไม่ว่าขนมจะมีรากศัพท์มาจากคำใดหรือภาษาใด ขนมก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมไทยด้วย
ฐานะของขนมไทยอย่างเต็มภาคภูมิ และคนไทยเองก็ได้ชื่อว่าเป็นชนชาติหนึ่งที่ชอบกินขนมเป็น
ชีวิตจิตใจ
หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างขนมไทยกับคนไทยก็คือวรรณคดีมรดกสุโขทัย
เรื่องไตรภูมิพระร่วง ซึ่งกล่าวถึงขนมต้มที่เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งไว้
ขนมไทยเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในสมัยอยุธยา ดังปรากฏข้อความในจดหมายเหตุหลายฉบับ
 บางฉบับกล่าวถึง "ย่านป่าขนม" หรือตลาดขนม บางฉบับกล่าวถึง "บ้านหม้อ" ที่มีการปั้นหม้อ
 และรวมไปถึงกระทะ ขนมเบื้อง เตาและรังขนมครก แสดงให้เห็นว่าขนมครกและขนมเบื้องนั้น
 คงจะแพร่หลายมากจนถึงขนาดมีการปั้นเตาและกระทะขาย บางฉบับกล่าวถึงขนมชะมด 
ขนมกงเกวียนหรือขนมกง ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมลอดช่อง จนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช 
อันถือได้ว่าเป็นยุคทองของการทำขนมไทย ดังที่จดหมายเหตุฝรั่งโบราณได้มีการบันทึกไว้ว่า 
การทำขนมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อชาว
โปรตุเกสอย่างท่านผู้หญิงวิชาเยนทร์หรือบรรดาศักดิ์ว่า ท้าวทองกีบม้า ผู้เป็นต้นเครื่องขนมหรือ
ของหวานในวัง ได้สอนให้สาวชาววังทำของหวานต่าง ๆ โดยเฉพาะได้นำไข่ขาวและไข่แดง
มาเป็นส่วนผสมสำคัญอย่างที่ทางโปรตุเกสทำกัน ขนมที่ท่านท้าวทองกีบม้าทำขึ้นและยังเป็น
ที่นิยมจนถึงปัจจุบันก็ได้แก่ ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมหม้อแกง และรวมไปถึง
 ขนมทองโปร่ง ขนมทองพลุ ขนมสำปันนี ขนมไข่เต่า ฯลฯ
ล่วงจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ผู้ทรงเป็น
พระเจ้าน้องยาเธอในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กล่าวไว้ว่าในงานสมโภช
พระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้มีเครื่องตั้งสำรับหวานสำหรับ
พระสงฆ์ ๒,๐๐๐ รูป ประกอบด้วย ขนมไส้ไก่ ขนมฝอย ข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ
 ล่าเตียง หรุ่ม สังขยา ฝอยทอง และขนมตะไล
ในกาพย์ห่อโคลงเห่เรือชมเครื่องคาวหวาน บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้กล่าวชมเครื่องหวานหรือขนมไทยหลายชนิดด้วยกัน อาทิ
 ข้าวเหนียวสังขยา ขนมลำเจียก ขนมทองหยิบ ขนมทองหยอด ขนมผิง ขนมรังไร
 ขนมช่อม่วง ขนมบัวลอย ฯลฯ
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่
 การทำขนมไทยก็เป็นหนึ่งในตำราอาหารไทยนั้น จึงนับได้ว่าการทำขนมไทยและวัฒนธรรม
ขนมไทย เริ่มมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างมีระบบระเบียบในสมัยรัชกาลที่ ๕ นี้เอง
แม่ครัวหัวป่าก์เป็นตำราอาหารไทยเล่มแรก ประพันธ์โดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ 
ในตำราอาหารไทยเล่มนี้ปรากฏรายการสำรับของหวานเลี้ยงพระอันประกอบด้วย
 ขนมทองหยิบ ขนมฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมหันตรา ขนมถ้วยฟู ข้าวเหนียวแก้ว
 ขนมลืมกลืน วุ้นผลมะปราง ฯลฯ แสดงให้เห็นว่าคนไทยนิยมทำขนมใช้ในงานบุญ
 ซึ่งก็เป็นแบบแผนต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา

ขนมไทยในวิถีไทย
ขนมไทยหัตถกรรมความอร่อยที่แสดงออกถึงความอ่อนช้อยของความเป็นไทย ตั้งแต่ครั้งอดีตกาลที่ก่อกำเนิดภูมิปัญญาไทยหลากหลายอย่างให้สืบสานต่อทั้งวิถีชีวิตประเพณี วัฒนธรรม ที่สามารถนำวัสดุมีอยู่ในท้องถิ่นมาปรุงแต่งเป็นของหวานได้มากหลายรูปแบบ จัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่าคนไทยมีลักษณะนิสัยอย่างไร เพราะขนมแต่ละชนิดล้วน มีเสน่ห์ แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อน ประณีต วิจิตรบรรจงในรูปลักษณ์ ตั้งแต่วัตถุดิบที่ใช้ วิธีการทำที่กลมกลืน ความพิถีพิถัน สีที่ให้ความสวยงาม มีกลิ่นหอม รสชาติของขนมที่ละเมียดละไมชวนให้รับประทาน แสดงให้เห็นว่าคนไทยเป็นคนใจเย็น รักสงบ มีฝีมือเชิงศิลปะ
วิถีชีวิตของคนไทยนั้นเป็นสังคมเกษตรที่มีผลิตผลทางธรรมชาติอยู่มากมาย เช่น กล้วย อ้อย มะม่วง รวมไปถึงข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ฯลฯ ที่สามารถปรุงเป็น ขนม ได้มากมายหลายชนิด เช่น อยากได้ กะทิ ก็เก็บมะพร้าวมาขูดคั้นน้ำกะทิ อยากได้ แป้งก็นำข้าวมาโม่เป็นแป้งทำขนมอร่อยๆ เช่น บัวลอย กินกันเองในครอบครัว
ขนมไทยถูกนำไปใช้ในงานบุญตามประเพณีและงานพิธีกรรม ที่เกี่ยวข้องในวิถีชีวิตชาวไทย โดยนิยมทำขนมชื่อมีมงคล ได้แก่ ขนมตระกูลทองทั้งหลาย เพราะคนไทยถือว่า ทอง” เป็น ของดีมีมงคลทำแล้วได้มีบุญกุศล มีเงินมีทอง มีลาภยศ สรรเสริญ สมชื่อขนมนั่นเอง

การแบ่งประเภทของขนมไทย
แบ่งตามวิธีการทำให้สุกได้ดังนี้
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการกวน ส่วนมากใช้กระทะทอง กวนตั้งแต่เป็นน้ำเหลวใสจนงวด แล้วเทใส่พิมพ์หรือถาดเมื่อเย็นจึงตัดเป็นชิ้น เช่น ตะโก้ ขนมลืมกลืน ขนมเปียกปูน ขนมศิลาอ่อน และผลไม้กวนต่างๆ รวมถึง ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว และกะละแม
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่ง ใช้ลังถึง บางชนิดเทส่วนผสมใส่ถ้วยตะไลแล้วนึ่ง บางชนิดใส่ถาดหรือพิมพ์ บางชนิดห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าว เช่น ช่อม่วง ขนมชั้น ข้าวต้มผัด สาลี่อ่อน สังขยา ขนมกล้วยขนมตาล ขนมใส่ไส้ ขนมเทียน ขนมน้ำดอกไม้ 
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการเชื่อม เป็นการใส่ส่วนผสมลงในน้ำเชื่อมที่กำลังเดือดจนสุก ได้แก่ ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง เม็ดขนุน กล้วยเชื่อม จาวตาลเชื่อม
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการทอด เป็นการใส่ส่วนผสมลงในกระทะที่มีน้ำมันร้อนๆ จนสุก เช่น กล้วยทอด ข้าวเม่าทอด ขนมกง ขนมค้างคาว ขนมฝักบัว ขนมนางเล็ด
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่งหรืออบ ได้แก่ ขนมหม้อแกง ขนมหน้านวล ขนมกลีบลำดวน ขนมทองม้วน สาลี่แข็ง ขนมจ่ามงกุฎ นอกจากนี้ อาจรวม ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมดอกลำเจียกที่ใช้ความร้อนบนเตาไว้ในกลุ่มนี้ด้วย
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการต้ม ขนมประเภทนี้จะใช้หม้อหรือกระทะต้มน้ำให้เดือด ใส่ขนมลงไปจนสุกแล้วตักขึ้น นำมาคลุกหรือโรยมะพร้าว ได้แก่ ขนมถั่วแปบ ขนมต้ม ขนมเหนียว ขนมเรไร นอกจากนี้ยังรวมขนมประเภทน้ำ ที่นิยมนำมาต้มกับกะทิ หรือใส่แป้งผสมเป็นขนมเปียก และขนมที่กินกับน้ำเชื่อมและน้ำกะทิ เช่น กล้วยบวชชี มันแกงบวด สาคูเปียก ลอดช่อง ซ่าหริ่ม

ตำนานหอไอเฟล


ตำนานหอไอเฟล

กว่าจะมาเป็น หอไอเฟล ที่ไม่มีใครไม่รู้จัก Eiffel Tower
 หอไอเฟล (อังกฤษ: Eiffel Tower, ฝรั่งเศส: Tour Eiffel) หอคอยโครงสร้างเหล็ก ที่Champ de Mars บริเวณแม่น้ำแซน ในเมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส สถานที่และสัญลักษณ์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของฝรั่งเศส ก่อสร้างในปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) โดย กุสตาฟ ไอเฟล ผู้ออกแบบคนเดียวกับเทพีเสรีภาพ เพื่อเป็นสัญลักษณ์การจัดงานแสดงสินค้าโลกในปี 1889 (พ.ศ. 24

13) ฉลองครบรอบ 100 ปีแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม หอไอเฟลทำขึ้นจากโลหะ 15,000 ชิ้น หนักถึง 7,000 ตัน ยึดต่อด้วยน๊อต 2,500,000 ตัว สีทาทั้งหมด 35 ตัน สูง 1,050 ฟุต สิ้นเงินค่าก่อสร้าง 7,799,401 ฟรังก์ แรกๆที่หอไอฟสร้างเสร็จ หอไอเฟลได้รับการประณามโดยทั่วไปว่าเป็นไอเดียที่ประหลาดและไม่เข้าท่า หอคอยไอเฟลได้ชื่อว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในช่วงเวลา พ.ศ. 2432 - 2473 ในปัจจุบัน หอคอยไอเฟลมีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมประมาณ 5.5 ล้านคนต่อปี นับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่   หอไอเฟลมีความสูง 300 เมตร (986 ฟุต) ซึ่งไม่รวม เสาอากาศ 24 เมตร (72 ฟุต) ด้านบนนั้น ถ้าเปรียบเทียบกับตึกแล้วจะมีประมาณ 75 ชั้น ในขณะที่ก่

อสร้างปี พ.ศ. 2432(ค.ศ. 1889) หอไอเฟลนั้นเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดบนโลก โดยถูกล้มตำแหน่งเมื่อเมืองนิวยอร์กได้สร้าง ตึกไครสเลอร์ สูง 319 เมตร(1046 พุต)  น้ำหนักเหล็กที่ใช้ก่อสร้างนั้นทั้งหมด 7,300 ตัน และถ้ารวมทั้งหมดก็เป็น 10,000 ตัน ส่วนจำนวนบันไดนั้นเปลี่ยนแปลงตลอด เมื่อแรกเริ่มนั้นมี 1710 ขั้น ในทศวรรษที่ 1980 มี 1920 ขั้น และในปัจจุบัน มี 1665 ขั้น




ขอขอบคุณ ภาพและเนื้อหา
ลูกแก้วกรุ๊ป


แบบฝึกหัด บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026008 กลุ่มเรียนที่ 1 ชื่อ-สกุล นางสาว สุดารัตน์ เอกสันติ 55011010562 ระบบ ปกติ


ข้อ 1.ตอบ ผิดในแง่กฎหมาย เพราะ เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล โดยไม่ได้รับอนุญาติจากเจ้าของและไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มา

ความรู้เรื่อง สังคมออนไลน์กับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
โลกออนไลน์ปัจจุบัน ได้เข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ในหลายมิติ การกระทำต่างๆในกิจวัตรประจำวันของบางคนอาจจำเป็นต้องใช้สื่อเหล่านี้เข้ามาช่วยในทุกขั้นตอนของชีวิต ยิ่งในขณะนี้ที่สื่อสังคม (Social Media) ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ใช้ด้วยกัน เพราะลักษณะเด่นและเสน่ห์ของมันที่ทำให้การมีส่วนร่วมง่ายเพียงการพิมพ์หรือคลิก ผู้รับสารก็จะสามารถกลายเป็นผู้ส่งสารได้ในเวลาเดียวกัน เว็บไซต์จำพวก Facebook และ Twitter จึงเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการนำเสนอข้อมูลของผู้ใช้ที่มีเนื้อหาความยาวไม่มากนัก


         ก่อนอื่น เราจำเป็นต้องเข้าใจร่วมกันว่าเว็บไซต์ประเภทเหล่านี้ไม่ใช่พื้นที่สื่อโดยธรรมชาติ แต่มีลักษณะความเป็นสาธารณะโดยส่วนตัว (Personic = Public+Person) ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของผู้ใช้แต่ละคน ซึ่งแตกต่างเป็นอย่างมากกับพื้นที่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือบทความตามหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นการเขียนขนาดยาว แต่เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์เหล่านี้ซึ่งไม่ใช่สื่อโดยธรรมชาติจะไม่จำเป็นต้องมีจรรยาบรรณหรือมาตรฐานความเหมาะสมทางสังคมในการใช้งาน เนื่องจากความมีจรรยาบรรณจะนำมาสู่ความน่าเชื่อถือ และความน่าเชื่อถือนั้นก็ต้องวัดจากเนื้อหา มิใช่รูปแบบ เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าผลลัพธ์ของสื่อสังคมนั้นขึ้นอยู่กับตัวผู้ใช้ หากผู้ใช้มีเจตนาที่จะบิดเบือนความจริงเพื่อปลุกปั่นหรือหวังผลทางการเมือง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นย่อมจะเป็นด้านลบ แต่หากผู้ใช้เคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นอย่างเสมอภาคกัน มีความเป็นกลางในการนำเสนอความคิดเห็น และนำเสนอให้เป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง แม่นยำ โปร่งใส ผลลัพธ์ที่เกิดก็จะสร้างสรรค์ในเชิงบวกมากกว่าเป็นแน่


          โดยหลักแล้ว สิทธิและเสรีภาพในการใช้สื่อออนไลน์ของคนเราจะไม่แตกต่างกับสิทธิและเสรีภาพในการใช้สื่ออื่นๆ เพราะถือว่าเป็นเสรีภาพในการแสดงออกผ่านสื่อ ในปฏิญญาสากลว่าสิทธิมนุษยชนได้มีการรับรองเสรีภาพในลักษณะนี้ไว้ในข้อ 19 ว่า “ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความเห็นและการแสดงออกสิทธินี้รวมถึงอิสรภาพในการที่จะถือเอาความคิดโดยปราศจากความแทรกสอดและที่จะแสวงหา รับและแจกจ่ายข่าวสารและความคิดเห็นไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ และโดยไม่คำนึงถึงเขตแดน” ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ก็มีการรับรองการกระทำประเภทนี้เช่นกัน ในมาตรา 45 วรรคแรก ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นดังนั้นการกระทำเช่นนี้จึงถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานเช่นกัน


          แต่ในความเป็นจริง เมื่อมีเสรีภาพเกิดขึ้น เป็นที่แน่นอนว่าเขตแดนของเสรีภาพแต่ละบุคคลย่อมจะชนและทับซ้อนกัน ในบางกรณีกลายเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ดูเหมือนว่าเขตแดนของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นจะมีมากจนบางครั้งอาจมีมากเกินไปด้วยซ้ำ ความจำเป็นในการที่ต้องกำกับ ดูแล และตรวจสอบการใช้งาน รวมถึงมาตรฐานจรรยาบรรณจึงเป็นสิ่งจำเป็นในสังคมออนไลน์ปัจจุบัน


          ในเรื่องเกี่ยวกับการเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวนั้น จริงๆแล้วเป็นเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานของคนที่ได้รับการคุ้มครองตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2540 ซึ่งคนในสังคมส่วนมากอาจละเลยและไม่ใส่ใจถึงความสำคัญของจุดนี้ ปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2550 ในมาตรา 35 มีระบุเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ชัดเจนว่า “สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมได้รับความคุ้มครอง การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวจะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” ซึ่งหากคนในสังคมให้ความสำคัญและปฏิบัติตามแล้วนั้น ปัญหาของสังคมออนไลน์อาจมีน้อยลงก็เป็นไป


          แต่ปัจจุบัน เมื่อคนละเลยถึงการเคารพในสิทธิขั้นพื้นฐานของคนด้วยกัน รัฐจึงมีความจำเป็นต้องจัดทำกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะ “พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550” จึงเกิดขึ้นมาเพื่อกำหนดมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน
          ณ จุดนี้เองที่ปัญหาได้เกิดขึ้น กล่าวคือ ถึงแม้การมีกฎหมายฉบับนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่รัฐสามารถกำกับ ดูแลสังคมออนไลน์ให้ไปในทิศทางที่เหมาะสม ไม่มีการละเมิดสิทธิเสรีภาพต่อผู้ใช้ด้วยกัน แต่ก็มีการถกเถียงในสังคมถึงเนื้อหาที่คลุมเคลือของกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งสุ่มเสี่ยงว่าจะถูกเจ้าหน้าที่รัฐใช้ในทางละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้ใช้ เนื้อหาดังกล่าวอยู่ในมาตรา 14 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ความดังนี้ 


       “ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
       (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
       (2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
       (3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
       (4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
       (5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)”


           ความคลุมเคลือของฐานความผิด และโทษบางประการที่มีการทับซ้อนกับโทษที่มีอยู่ตามกฎหมายอาญาหรือกฎหมายแพ่งอยู่แล้ว ได้ส่งผลให้ผู้ใช้บางคนเกิดอาการต่อต้านและไม่ยอมรับกฎหมายฉบับนี้ ถึงแม้ว่าจะใช้ได้ผลดีตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ในหลักการ แต่โอกาสที่ผู้ใช้ซึ่งไม่มีเจตนาทำผิดหรือจงใจสร้างความเสียหายต่อสังคมก็มีโอกาสสูงที่จะโดนความผิดตามกฎหมายฉบับนี้ ขณะที่ผู้มีเจตนาแอบแฝงหรือจงใจสร้างความวุ่นวายให้สังคมรวมถึงละเมิดสิทธิผู้อื่นอาจไม่โดนความผิด เพราะในโลกสังคมออนไลน์ ความจริงที่ถูกบิดเบือนมีมากอย่างมหาศาล และความเท็จที่ถูกรับรู้กันว่าเป็นความจริงที่ถูกต้องก็มีมากอย่างมหาศาลเช่นกัน สิ่งที่จะทำให้สังคมออนไลน์อยู่ในทิศทางที่เหมาะที่ควรต่อตัวผู้ใช้ ก็คือมาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณของตัวผู้ใช้เป็นสำคัญ กฎหมายถึงจะมีเนื้อหาที่ดีสักเพียงใดหากแต่ผู้ใช้ไม่มีความสำนึกต่อความรับผิดชอบและจริยธรรมขั้นพื้นฐานในด้านสิทธิและหน้าที่ กฎหมายนั้นก็จะไม่เป็นผล อีกทั้ง หากผู้ที่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมายนั้นไม่ดำเนินการตามหน้าที่ในทางที่ถูกที่ควร กฎหมายก็จะไม่สัมฤทธิผลเช่นกัน


           ในการนี้ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติและสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ในฐานะที่เป็นองค์กรวิชาชีพด้านสื่อมวลชน จึงได้มีการประกาศใช้แนวปฏิบัติ เรื่อง การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของสื่อมวลชน พ.ศ.2553 ด้วยเหตุผลความจำเป็นส่วนหนึ่ง คือ ในสถานการณ์ปัจจุบัน สื่อมวลชนแขนงต่างๆ ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์รวมถึงเว็บไซต์ข่าวสารต่างๆ ได้เข้าไปใช้ประโยชน์จากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ทั้งในด้านการรวบรวมข้อมูลข่าวสาร การนำเสนอ และการแสดงความคิดเห็น หรือการเผยแพร่การทำงานขององค์กรข่าว ซึ่งมีทั้งการใช้ประโยชน์ในระดับองค์กร ตัวบุคคล และผสมผสานเป็นจำนวนมาก แนวปฏิบัตินี้จึงเป็นการกำหนดให้สื่อมวลชนได้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์


           ในอีกส่วนหนึ่ง อาจเป็นเพราะด้วยการเข้าถึงที่ง่ายของสังคมโลกออนไลน์ ทำให้มีตัวแสดงที่เป็นทั้งสื่อ "ตัวจริง" และ "ตัวปลอม" เข้าไปใช้เครื่องมือที่ว่าเพื่อสื่อสารข้อมูลไปยังสาธารณะ ผลลัพธ์ที่เกิดคือ ข่าวลือ ข่าวปล่อย ข่าวที่สร้างความเสียหายจึงเริ่มปรากฏมากยิ่งขึ้น เป็นที่มาให้องค์กรวิชาชีพด้านสื่อมวลชนจำเป็นต้องร่างแนวปฏิบัตินี้ เพื่อให้การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของสื่อมวลชนตัวจริงมีน้ำหนัก มีความน่าเชื่อถือและมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น


           โดยเนื้อหาหลักของแนวปฏิบัตินี้ เป็นการพูดถึงการที่สื่อมวลชนต้องพึงระวังในการหาข้อมูลและนำเสนอ กล่าวคือ ข้อมูลที่มีแหล่งที่มาที่ชัดเจน เชื่อถือได้ ต้องไม่ไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น การนำเสนอต้องไม่เป็นการสร้างความเกลียดชังระหว่างคนในสังคมรวมถึงไม่ยุยงให้เกิดความรุนแรงจนอาจนำไปสู่ความขัดแย้งถึงขั้นเสียหายอย่างรุนแรงภายในชาติ ที่สำคัญในข้อที่ 7 ของแนวปฏิบัตินี้ได้พูดถึงสิ่งที่น่าสนใจไว้ด้วยว่า “การรายงานข้อมูลข่าวสารบนสื่อสังคมออนไลน์ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนพึงแยก ข่าว กับ ความเห็น ออกจากกันอย่างชัดเจน พึงระวังการย่อความที่ทำให้ข้อความนั้นบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง และพึงระวังการเผยแพร่ข้อมูลข่าวซ้ำ”  อีกทั้งในแนวปฏิบัตินี้ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์นี้ เป็นพื้นที่สื่อสาธารณะ ไม่ใช่พื้นที่ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นการรับรองสถานะของสื่อออนไลน์ไปในตัวเลยว่า พฤติกรรมใดๆที่กระทำบนสื่อสังคมออนไลน์นี้ จะต้องคำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นเนื่องจากเป็นพื้นที่สาธารณะที่เราไม่สามารถทำอะไรได้ตามอำเภอใจ


              สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งของแนวปฏิบัตินี้ คือ ข้อที่ 12 ของแนวปฏิบัติดังกล่าว ความว่า “หากการนำเสนอข้อมูลข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนเกิดความผิดพลาด จนก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลหรือองค์กรอื่น ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนต้องดำเนินการแก้ไขข้อความที่มีปัญหาโดยทันที พร้อมทั้งแสดงถ้อยคำขอโทษต่อบุคคลหรือองค์กรที่ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ ต้องให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายมีโอกาสชี้แจงข้อมูลข่าวสารในด้านของตนด้วย” นั้น แสดงถึงการแสดงความรับผิดชอบของผู้ใช้ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ซึ่งนับเป็นมาตรฐานทางจริยธรรมที่สำคัญยิ่งที่ผู้ใช้สื่อออนไลน์ควรมี ไม่ใช่เพียงแต่สื่อมวลชนอาชีพเท่านั้น


             จากทั้งหมดทั้งมวล กฎหมายและแนวปฏิบัติต่างๆ ก็เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อกำกับ ดูแลและตรวจสอบการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) หากเราต้องการให้พื้นที่สังคมออนไลน์เป็นพื้นที่ที่ใครก็ตามสามารถใช้ได้อย่างอิสระโดยตั้งอยู่บนฐานของความเคารพซึ่งกันและกัน แนวทางและวิธีการที่ดีที่สุด คือ ผู้ใช้ควรมีระบบกำกับ ดูแลและตรวจสอบกันเอง หากผู้ใช้มีมาตรฐานทางจริยธรรม มีจรรยาบรรณาในฐานะที่เป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารที่ดีแล้วนั้น สังคมออนไลน์ก็จะกลายเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อมนุษยชาติ




ที่มา : นายธีรพัฒน์ อังศุชวาล นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะรัฐศาสตร์ สาขาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โพสเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2554 21:29 น. [http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1564]


ข้อ 2.ตอบ  ไม่ผิดหากนาย นำข้อมูลมาแล้วและมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลอย่างถูกต้อง และไม่ทำความเดือดร้อนให้ใคร
ความรู้เรื่องการอ้งอิงเอกสาร 
การอ้างอิงเอกสาร (Citations) คือการบอกแหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงในการเขียนรายงาย หรือผลงานต่างๆ เพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคล หรือองค์กรผู้เป็นเจ้าของความคิดเดิม และเพื่อแสดงเจตนาบริสุทธิ์ว่าไม่ได้ขโมยความคิด หรือลอกเลียนข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่มีการอ้างอิงรวมทั่งสะดวกแก่ผู้อ่านที่ประสงค์จะทราบรายละเอียดอื่นๆ และตรวจสอบความถูกต้อง จากต้นฉบับเดิม

แบบฝึกหัด บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026008 กลุ่มเรียนที่ 1 ชื่อ-สกุล นางสาว สุดารัตน์ เอกสันติ 55011010562 ระบบ ปกติ

คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. หน้าที่ของ Firewall คือ
Firewall คือซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
หน้าที่ของไฟร์วอลคือ เป็นตัวกรองข้อมูลสื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไฟร์วอลจะคอยตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ระหว่างเครือข่าย หรือ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ซึ่งเป็นการป้องกันการโจมตี ป้องกันไวรัส หนอนอินเทอร์เน็ต สแปม เป็นต้น และป้องกันการบุกรุกต่างๆ ที่ไม่หวังดีต่อระบบ ไฟร์วอลเปรียบเสมือนยาม หรือ รปภ. ที่คอยตรวจสอบผู้เข้าออกต่างๆ ในสถานที่นั้นๆ
ความผิดพลาดของตัวไฟร์วอล หรือการปรับแต่งไฟร์วอลที่ผิดพลาด หรือไม่เหมาะสม อาจส่งผลทำให้ไฟร์วอลมีช่องโหว่ และนำไปสู่การโจรกรรมข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือการทำลายระบบคอมพิวเตอร์ได้
2. จงอธิบายคำศัพท์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์ worm, virus computer, spyware, adware มาอย่างน้อย 1 โปรแกรม
มัลแวร์ (Malware) ย่อมาจากคำว่า Malicious Software หมายถึงโปรแกรมประสงค์ร้ายต่างๆ โดยทำงานในลักษณะที่เป็นการโจมตีระบบ การทำให้ระบบเสียหาย รวมไปถึงการโจรกรรมข้อมูล มัลแวร์ แบ่งออกได้หลายประเภท เช่น
ไวรัส (Virus)
เวิร์ม (Worm) หรือหนอนอินเทอร์เน็ต
ม้าโทรจัน (Trojan Horse)
การแอบดักจับข้อมูล (Spyware)
คีย์ล็อกเกอร์ (Key Logger)
ตลอดจนโปรแกรมประเภทขโมยข้อมูล (Cookie) และการฝัง Malicious Mobile Code (MMC) ผ่านทางช่องโหว่ของโปรแกรมอื่น เช่นช่องโหว่ของโปรแกรม Internet Explorer (IE Vulnerability) ที่เกิดขึ้น โดยโปรแกรมจะทำการควบคุมการทำงานโปรแกรม Internet Explorer ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ที่ไม่หวังดี เช่น การแสดงโฆษณาในลักษณะของการ Pop-Up หน้าต่างโฆษณาออกมาเป็นระยะ เรียกโปรแกรมประเภทแสดงโฆษณารบกวนว่า แอ็ดแวร์ (Adware)
ภัยเหล่านี้ในปัจจุบันได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจจะเกิดผลกระทบแก่ผู้ใช้งานได้ ถ้าได้รับโปรแกรมเหล่านี้เข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์
มัลแวร์ประเภทต่างๆ มักถูกเรียกรวมๆ ว่าเป็นไวรัส ซึ่งไม่ถูกต้องนัก
ไวรัสคอมพิวเตอร์ (computer virus) หรือนิยมเรียกโดยย่อว่า "ไวรัส" หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บุกรุกเข้าไปในระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (โอเอส) หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อื่น โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ ไวรัสฯ โดยทั่วไปมีประสงค์ร้าย คือ ก่อกวนผู้ใช้ และ/หรือ สร้างความเสียหายให้กับข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ
หนอนคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เวิร์ม (computer worm) หรือเวิร์ม มักจะแพร่กระจายโดยไม่ผ่านการใช้งานของผู้ใช้โดยตรง เช่นเป็นไฟล์ Autorun หรือไฟล์หนอนฯ เข้าไปฝังอยู่ในระบบ ทำให้หนอนฯ ทำงานทุกครั้งที่เปิดเครื่อง หรือทุกครั้งที่เข้าอินเทอร์เน็ต เป็นต้น หรือผ่านการใช้งานที่ไม่ได้ตั้งใจ เช่นเป็นไฟล์หนอนฯ ที่ทำชื่อไฟล์และรูปไอคอนหลอกลวง เพื่อล่อหรือลวงให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดไฟล์หรือเปิดไฟล์ เป็นต้น
หนอนสามารถคัดลอกตัวหนอนเองไปยังไดรว์อื่นๆ ได้ แฟลชไดรว์จึงสามารถเป็นพาหะนำหนอนไปติดยังเครื่องอื่นได้ หนอนบางชนิดจะคัดลอกและกระจายตัวมันเองผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น LAN หรืออินเทอร์เน็ตด้วย หนอนคอมพิวเตอร์สามารถทำลายข้อมูลและแบนด์วิธ สร้างความเสียหายให้กับคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงการทำให้คอมพิวเตอร์หยุดทำงาน หนอนคอมพิวเตอร์สามารถที่จะควบคุมความสามารถบางอย่างของคอมพิวเตอร์ และสามารถที่จะส่งไฟล์หรือข้อมูลที่สำคัญไปสู่ผู้สร้างหนอนฯ ผู้ที่ไม่หวังดี คู่แข่ง หรือใครก็ได้ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายได้
ในทางเทคนิคแล้ว แม้ว่าวิธีการแพร่กระจายของไวรัสและหนอนฯ (เวิร์ม) จะคล้ายคลึงกัน คือคัดลอกตัวเองไปติดที่ไดรว์อื่น โฟลเดอร์อื่น หรือไฟล์อื่น แต่ไวรัสจะไม่มีไฟล์เป็นของตัวเอง ไวรัสจะติดแทรกอยู่กับไฟล์อื่น และทำให้ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (โอเอส) หรือโปรแกรมอื่น หรือไฟล์อื่น ผิดเพี้ยน หรือเปลี่ยนแปลงไปบางส่วน หรือทั้งหมด ส่วนหนอนฯ จะมีไฟล์เป็นของตัวเอง หากเราสามารถลบไฟล์หนอนฯ ออกไปได้ (โดยที่ไม่ลบผิดไฟล์) ก็จะไม่กระทบต่อไฟล์งานอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้อง แต่การทำงานของหนอนฯ อาจส่งผลเสียต่อโอเอส หรือโปรแกรมอื่น หรือไฟล์อื่นด้วยเช่นเดียวกัน
ม้าโทรจัน (Trojan Horse) เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็นโปรแกรมธรรมดา ทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อถูกเรียกขึ้นมา ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำ อธิบาย การใช้งาน ที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจ
จุด ประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจันคือเข้าไปทำอันตรายต่อ ข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะล้วง เอาความลับของระบบคอมพิวเตอร์
ม้าโทรจันถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดด ๆ และจะไม่มีการเข้าไปติดในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้ เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มี ม้าโทรจันอยู่ในนั้นและนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโปรแกรมที่มีความอันตราย สูง เพราะยากที่จะตรวจสอบและสร้างขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งอาจจะใช้แค่แบตช์ไฟล์ก็สามารถเขียนโปรแกรมม้าโทรจันได้
3. ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
1. บูตเซกเตอร์ไวรัส (Boot Sector Viruses) หรือ Boot Infector Viruses คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์
การใช้งานของบูตเซกเตอร์ คือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานขึ้นมาครั้งแรก เครื่องจะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์ โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็ก ๆ ไว้ใช้ในการเรียกระบบปฏิบัติการขึ้นมาทำงาน
การทำงานของบูตเซกเตอร์ไวรัสคือ จะเข้าไปแทนที่โปรแกรมที่อยู่ในบูตเซกเตอร์ โดยทั่วไปแล้วถ้าติดอยู่ในฮาร์ดดิสก์ จะเข้าไปอยู่บริเวณที่เรียกว่า Master Boot Sector หรือ Partition Table ของฮาร์ดดิสก์นั้น
ถ้าบูตเซกเตอร์ของดิสก์ใดมีไวรัสประเภทนี้ติดอยู่ ทุก ๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมา เมื่อมีการเรียกระบบปฏิบัติการจากดิสก์นี้ โปรแกรมไวรัสจะทำงานก่อนและเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำเพื่อเตรียมพร้อม ที่จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรมมา ก่อนที่จะไปเรียกให้ระบบปฏิบัติการทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
2. โปรแกรมไวรัส (Program Viruses) หรือ File Intector Viruses เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่ง ที่จะติดอยู่กับโปรแกรม ซึ่งปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้าไปอยู่ใน
โปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น SYS ได้ด้วย
(โปรแกรมไวรัสในที่นี้ หมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป ที่ติดไวรัสขึ้นในภายหลัง ไม่ได้กล่าวรวมไปถึงโปรแกรมหนอน หรือโปรแกรมม้าโทรจัน อันเป็นโปรแกรมที่ตัวมันเองเป็นภัยคุกคามระบบเองโดยตรง ซึ่งต้องลบทิ้งหรือกำจัดทิ้งสถานเดียว)
การทำงานของไวรัสประเภทนี้ คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อนและจะถือโอกาสนี้ฝังตัวเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำ ทันที แล้วจึงค่อยให้โปรแกรมนั้นทำงานตามปกติ เมื่อฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้ว หลังจากนี้หากมีการเรียกโปรแกรมอื่น ๆ ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสจะสำเนาตัวเองเข้าไปในโปรแกรมเหล่านี้ทันที เป็นการแพร่ระบาดต่อไป
นอกจากนี้ไวรัสนี้ยังมีวิธีการแพร่ระบาดอีกคือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่มีไวรัสติดอยู่ ตัวไวรัสจะเข้าไปหาโปรแกรมอื่น ๆ ที่อยู่ติดเพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันที แล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูกเรียกนั้นทำงานตามปกติต่อไป
3. โพลีมอร์ฟิกไวรัส (Polymorphic Viruses) เป็นชื่อที่ใช้เรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเองได้เมื่อมี การสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งอาจได้ถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจัดโดยโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการส แกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ ๆ ในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
4. สทิลต์ไวรัส (Stealth Viruses) เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อการตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรมใดแล้วจะทำให้ขนาดของโปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทิสต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริงของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้
เนื่องจากตัวไวรัสจะเข้าไปควบคุมระบบปฏิบัติการ เช่น ดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือควบคุมโปรแกรมใดก็ตามที่ใช้ตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิมทุกอย่าง ราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น
5. Macro viruses จะติดต่อกับไฟล์ซึ่งใช้เป็นต้นแบบ (template) ในการสร้างเอกสาร (documents หรือ spreadsheet) หลังจากที่ต้นแบบในการใช้สร้างเอกสารติดไวรัสแล้ว ทุก ๆ เอกสารที่เปิดขึ้นใช้ด้วยต้นแบบอันนั้นจะติดไวรัสนั้นตามไปด้วย และไวรัสอาจทำให้ไฟล์งานนั้นเสียหายหรือผิดเพี้ยนไปจากเดิม
4. ให้นิสิตอธิบายแนวทางในการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 5 ข้อ
คำแนะนำและการป้องกันไวรัส
ควรติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสที่เชื่อถือได้ และต้องสามารถอัพเดทฐานข้อมูลไวรัสและเครื่องมือได้ตลอด เพราะจะทำให้สามารถดักจับและจัดการกับไวรัสตัวใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
อัพเดทซอฟต์ แวร์ป้องกันไวรัสอย่างสม่ำเสมอ หา่กเป็นไปได้ควรอัพเดททุกครั้งที่ออนไลน์ เพราะจะมีไวรัสใหม่หรือภัยคุกคามอื่นๆ แบบใหม่เกิดขึ้นทุกวันในโลก
ควรสแกนแฟลชไดรว์ก่อนใช้งานทุกครั้ง เพราะแฟลชไดรว์เป็นพาหะในการแพร่ไวรัส หนอน หรือม้าโทรจัน จากพีซีเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งได้
ไม่ควรเรียกโปรแกรมที่ติดมากับแฟลชไดรว์อื่น โดยไม่จำเป็น
ควรสำรองไฟล์ข้อมูลที่สำคัญ (ก็อปปี้ไฟล์ข้อมูลที่สำคัญไปเก็บไว้ที่อื่นๆ)
เรียกใช้โปรแกรมตรวจหาไวรัสเป็นช่วง ๆ
เรียกใช้โปรแกรมตรวจจับไวรัสแบบเฝ้าดู หรือแบบ realtime ทุกครั้ง
ควรเลือกติดตั้งซอฟต์แวร์จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เช่น ใช้แผ่นแท้ หรือดาวน์โหลดโปรแกรมจากเว็บไซต์ผู้ผลิตโดยตรง (กรณีที่เป็นฟรีแวร์หรือโปรแกรมประเภทโอเพ่นซอร์ส ซึ่งสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี) หรือซื้อการดาวน์โหลดแบบถูกกฎหมายจากบริษัทหรือตัวแทนจำหน่ายโดยตรง เป็นต้น
ไม่ควรดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ เว็บไซต์แจกโปรแกรมเถื่อนบางเว็บไซต์อาจมีภัยคุกคามโดยตรง หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยง และบางเว็บไซต์อาจมีการล่อลวงให้ทำกิจกรรมบางอย่างก่อน จึงจะให้ดาวน์ โหลด เช่นลวงให้ไปโดน Phishing หลอกให้ใส่รหัสผ่าน หรือลวงให้ไปเข้าชมเว็บที่มีไวรัส เป็นต้น (และอาจจะไม่ได้มีให้ดาวน์โหลดจริง) ดังนั้นควรใช้วิจารณญาณในการเข้าชม
นอก เหนือจากไวรัสหรือหนอนฯ แล้ว เว็บไซต์เถื่อนโดยทั่วไปมักมีโฆษณาลามกอนา่จาร จึงไม่ควรเข้าชมเว็บไซต์เถื่อนในที่สาธารณะให้บุคคลอื่นเห็น เพราะอาจทำให้บุคคลอื่นเข้าใจผิดในตัวเราได้ แม้ไม่ได้ตั้่งใจเปิดก็ตาม
นอก จากนี้ยังพบว่าแผ่นเถื่อนบางรายอาจเป็นการหลอกลวง มีข้อมูลไม่ตรงตามปก หรืออาจมีข้อมูลไม่ครบ หรือโปรแกรมเถื่อนบางแหล่งอาจมีไวรัส หนอน ม้าโทรจัน หรือภัยคุกคามอื่นๆ ติดมาด้วย